User Tools

Site Tools


Sidebar

1. บทนำ

2. การวิเคราะห์ Algorithm

3. List, Stack and Queue

4. Tree

5. Hashing

6. Priority Queues

7. การจัดเรียง (Sorting)

8. The Disjoint Set

9. Graph Algorithms

dsa:basic_math

1.2 ทบทวนคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

1.2.1 Exponents

$$ 𝑋^𝐴 * 𝑋^𝐵 = 𝑋^{(𝐴+𝐵)} $$ $$ 𝑋^𝐴/𝑋^𝐵 = 𝑋^{(𝐴−𝐵)} $$ $$ (𝑋^𝐴)^𝐵 = 𝑋^{𝐴𝐵} $$ $$ 𝑋^𝑁 + 𝑋^𝑁 = 2𝑋^𝑁 ≠ 𝑋^{2𝑁} $$ $$ 2^𝑁+2^𝑁 = 2^{(𝑁+1)} $$

1.2.2 Logarithms

ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็น logarithms ฐาน 2

นิยาม: $𝑋^𝐴 = 𝐵$ 𝑖𝑓 𝑎𝑛𝑑 𝑜𝑛𝑙𝑦 𝑖𝑓 $𝑙𝑜𝑔_𝑥 𝐵 = 𝐴$ $$ log⁡(𝐴𝐵)=log⁡𝐴+log⁡𝐵 $$ $$ log⁡(𝐴/𝐵)=log⁡𝐴−log⁡𝐵 $$ $$ log⁡(𝐴^𝐵)=B log⁡𝐴 $$ $log⁡ 𝑋 < X$ for all $X > 0$

log 1 = 0, log 2 = 1, log 1,024 = 10, log 1,048,576 = 20

THEOREM

$$ log_𝐴⁡𝐵 = \frac{log_𝑐⁡𝐵}{log_𝑐⁡𝐴} ; A, B, C > 0, A≠1 $$

PROOF: ให้ $X = log_c B, Y = log_c A, และ Z = log_A B.$ ดังนั้น จากนิยามของ logarithms

จะได้ $C^X = B, C^Y = A, และ A^Z = B$ รวมทั้งสามสมการจะได้ $(C^Y)^Z = C^X = B$ ดังนั้น X = YZ, ซึ่งก็คือ Z = X/Y

1.2.3 อนุกรม (Series)

$$ ∑_{i=0}^N 2^i = 2^0+2^1+2^2+2^3+⋯+2^{N-1}+2^N = 2^{(N+1)}-1 $$ และ $$ ∑_{i=0}^N A^i = \frac{(A^{N+1}-1)}{(A-1)} $$ ถ้า 0 < A < 1, จะได้ $$ ∑_{i=0}^N A^i ≤ \frac{1}{(1-A)} $$

ถ้า N เข้าหา $ \infty $, ผลบวกจะเข้าหา $ \frac{1}{(1-A)} $

โดยปกติแล้วเทคนิคในการหาผลลัพธ์ที่เป็นสูตรของผลบวกของอนุกรมสามารถทำได้ดังตัวอย่างเช่น ต้องการสูตรของ

$$ ∑_{i=0}^\infty A^i \ \ \ (0<A<1) $$

ให้ S เป็นผลบวกของอนุกรมข้างบน ดังนั้น

$$ S = 1 + A + A^2 + A^3 + A^4 + A^5 + .. (1) $$

และคูณทั้งสมการ (1) ด้วย A จะได้

$$ AS = A + A^2 + A^3 + A^4 + A^5 + . . (2)$$

(1) – (2) จะได้

$$S – AS = 1 \ \ \ ซึ่งก็คือ \ \ S=\frac{1}{(1-A)} $$

ดังนั้น

$$ ∑_{i=0}^\infty A^i = \frac{1}{(1-A)} \ \ \ (0<A<1) $$

ด้วยวิธีการที่คล้ายกันเราสามารถหาผลลัพธ์ของอนุกรม

$$ S=∑_{i=0}^\infty \frac{i}{2^i} $$

ให้ S เป็นผลบวกของอนุกรมข้างบน ดังนั้น \begin{align*} s & = 1/2+2/2^2 +3/2^3 +4/2^4 + ⋯ \\ 2s & =1+2/2+3/2^2 +4/2^3 +5/2^4 + ⋯ \\ 2s-s & =1+1/2+1/2^2 +1/2^3 +1/2^4 + ⋯ \\ s & =1+ 1/(1-1/2)=3 \\ \end{align*}

อนุกรมเลขคณิตสามารถหาได้ด้วยการใช้สูตรพื้นฐาน ดังนี้

$$ ∑_{i=1}^N i= \frac{(N(N+1))}{2} ≈ \frac{N^2}{2}$$

ตัวอย่าง $$1+2+3+…+100 = \frac{(100×(100+1))}{2}$$

ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในบางสถานการณ์ เช่น

ต้องการหาผลบวก $2 + 5 + 8 + ... + (3k - 1)$ เมื่อ k คือค่าเลขจำนวนเต็ม

ให้เขียนใหม่เป็น $3(1 + 2+ 3 +...+ k) - (1 + 1 + 1 +...+ 1)$, ซึ่งก็คือ $ \frac{(3k(k + 1))}{2}–k $

หรือทำได้อีกวิธีหนึ่ง กล่าวคือ ให้บวกเทอมแรกและเทอมสุดท้ายจะได้ 3k + 1, บวกเทอมที่สองและเทอมรองสุดท้ายจะได้ 3k + 1 และทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จะพบว่าจะมีคู่เทอมทั้งหมด $\frac{k}{2}$ ตัว, ดังนั้นผลบวกทั้งหมด คือ $\frac{k(3k + 1)}{2}$

อนุกรมอื่น ๆ ที่อาจพบได้

$$∑_{i=1}^N i^2 = \frac{N(N+1)(2N+1)}{6} ≈ \frac{N^3}{3}$$ $$∑_{i=1}^N i^k ≈ \frac{N^(k+1)}{|k+1|} \ \ k ≠ -1 $$

Harmonic Number และ harmonic sum:

$$H_n=∑_{i=1}^N \frac{1}{i} ≈ log_e⁡N $$

สำหรับอนุกรมโดยทั่วไปแล้วจะเป็นไปดังนี้:

$$∑_{i=1}^N f(n) = Nf(N) $$ $$∑_{i=n_0}^N f(i) = ∑_{i=1}^N f(i)- ∑_{i=1}^{n_0-1} f(i)$$

1.2.4 Modular Arithmetic

เรียก a ว่าเป็น congruent to b modulo n, ซึ่งเขียนเป็น $a \equiv b(mod\ n)$,

ถ้า n หาร a – b ลงตัว เศษที่ได้จากการนำ n ไปหาร a หรือหาร b มีค่าเท่ากัน ดังนั้น $81 \equiv 61 \equiv 1(mod\ 10) $

และถ้า $a \equiv b (mod\ n) $, จะได้ว่า $$a + c \equiv b + c (mod\ n) $$ และ $$ ad \equiv bd (mod\ n)$$

1.2.5 Floors and ceilings

สำหรับจำนวนจริงใด ๆ x, กำหนดให้ จำนวนเต็ม ที่มากที่สุด ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ x คือ ⌊x⌋ (เรียก “the floor of x”) และ จำนวนเต็มที่น้อยที่สุด ที่มากกว่าหรือเท่ากับ x คือ ⌈x⌉ (เรียก “the ceiling of x”). สำหรับ x ทั้งหมด $$ x-1<⌊x⌋≤x≤⌈x⌉<x+1 $$ สำหรับจำนวนเต็ม n, $$⌊n/2⌋+⌈n/2⌉=n$$

1.2.6 การพิสูจน์

ในการวิเคราะห์ ในเรื่อง โครงสร้างข้อมูล และ อัลกอริทึม ใช้การพิสูจน์ แบบ Proof by Contradiction, Proof by Counterexample และ Proof by Induction เป็นส่วนใหญ่ โดยมีหลักการ ดังนี้

Proof by Contradiction

เริ่มต้นทำด้วยการสมมติให้ทฤษฎีที่เราต้องการพิสูจน์นั้นว่าไม่จริง (คือ เป็น false) และจะทำการแสดงให้เห็นว่าข้อสมมติของเราไม่เป็นความจริง ดังนั้นคำกล่าวที่เราสมมติให้ทฤษฎีที่เราต้องการพิสูจน์นั้นว่าไม่จริงนั้นจึงไม่ถูกต้อง

  • If P is the proposition to be proved:
    • 1. P is assumed to be false, that is ¬P is true.
    • 2. It is shown that ¬ P implies two mutually contradictory assertions, Q and ¬ Q.
    • 3. Since Q and ¬ Q cannot both be true, the assumption that P is false must be wrong, and P must be true.

ตัวอย่างที่นิยมยกมาแสดงกันบ่อย ๆ คือการพิสูจน์ว่าจำนวนของค่า prime number มีจำนวนเป็นอนันต์ (infinite) โดย Euclid (300BC)

ทฤษฎี: prime numbers มีจำนวนเป็นอนันต์
การพิสูจน์:

สมมุติในทางกลับ กล่าวคือ มีตัวเลขที่เป็น prime อยู่จำกัด ดังนั้น เราสามารถ สร้างรายการของเลข prime ได้ เป็น $p_1, p_2, ..., p_n$

พิจารณา ตัวเลข $q = p_1 * p_2 * ... * p_n + 1$

$q$ ไม่เป็นทั้ง เลข prime หรือ เลขประกอบ

ถ้าเราหาร $q$ ด้วยตัวเลข prime ในรายการ $p_1, p_2, ..., p_n$ จะเหลือเศษ 1 แสดงว่า $q$ ไม่ใช่เลขประกอบ

จึงสรุปได้ว่า $q$ เป็น prime ที่ไม่ได้อยู่ในรายการ ซึ่งแย้งกับข้อสมมุติที่ว่า เลข prime ทั้งหมด อยู่ในรายการ ดังนั้น ข้อสมมุติจึงไม่ถูกต้อง สรุปได้ว่า ทฤษฎีเป็นจริง

Proof by Counterexample

การพิสูจน์ โดยยกตัวอย่างแย้ง ไม่ใช่เทคนิคในการพิสูจน์ เป็นเพียงการแสดงให้เห็นว่า ประโยคที่กล่าว ไม่เป็นจริง โดยการยกตัวอย่าง ที่ค้าน ประโยคดังกล่าว

ตัวอย่างแย้ง ของประโยคที่ว่า “เลข prime ทุกตัวเป็นเลขคี่” คือ 2 เป็น เลข prime แต่ไม่เป็นเลขคี่

Proof by Mathematical Induction

เป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของผลลัพธ์หรือสูตร (หรือคือ Proposition P) ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

Basic Step: ขั้นพิสูจน์กรณีฐาน (base case) เพื่อแสดงให้เห็นว่า Proposition P($n_0$) เป็นจริง

Inductive step: Proposition เป็นจริงสำหรับค่าเลขจำนวนเต็ม k ใด ๆ ที่ $k > n_0$ (inductive hypothesis) กล่าวคือ Proposition เป็นจริงทุกกรณีจนถึงค่า k คือ Proposition P(k) เป็นจริง

แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีเป็นจริงกรณีค่าถัดไป กล่าวคือกรณีค่า k+1 คือพิสูจน์ว่า P(k+1) เป็นจริง

ตัวอย่าง 1 พิสูจน์ Fibonacci numbers, $F_0 = 1, F_1 = 1, F_2 = 2, F_3 = 3, F_4 = 5, . . . , F_i = F_{i-1} + F_{i-2} $ แล้ว ให้ $P(n): Fn < (\frac{5}{3})^n$, for $n>=1$ เป็นจริง (บางครั้งนิยามให้ $F_0 = 0$)

เริ่มด้วย basic step คือพิสูจน์ P(1) เป็นจริงกรณีนี้ $n_0 = 1$ ซึ่งเป็นกรณีที่ชัดเจนคือ $F_1 = 1 < \frac{5}{3}$ และ $F_2 = 2 < (\frac{5}{3})^2 = \frac{25}{9}$;

สมมติในทฤษฎีเป็นจริงสำหรับค่า i = 1, 2, . . . , k; (นี่คือ inductive hypothesis)

พิสูจน์กรณี k+1 คือ $F_{k+1} < (\frac{5}{3})^{k+1}$.

จาก $F_{k + 1} = F_k + F_{k-1}$

ใช้ inductive hypothesis กับด้านขวามือ จะได้

\begin{align*} F_{k+1} & < (\frac{5}{3})^k + (\frac{5}{3})^{k-1} \\ & < (\frac{3}{5})(\frac{5}{3})^{k+1} + (\frac{3}{5})^2(\frac{5}{3})^{k+1} \\ & < (\frac{3}{5})(\frac{5}{3})^{k+1} + (\frac{9}{25})(\frac{5}{3})^{k+1} \\ \end{align*} ซึ่งเขียนใหม่ได้ \begin{align*} F_{k+1} & < (\frac{3}{5} + \frac{9}{25})(\frac{5}{3})^k+1 \\ & < (\frac{24}{25})(\frac{5}{3})^k+1 \\ & < (\frac{5}{3})^k+1 \\ \end{align*}

ตัวอย่าง 2 พิสูจน์ว่าทุก ๆ ค่าเลขจำนวนเต็ม n ใด ๆ, $$ ∑_{i=1}^N i = \frac{(N(N+1))}{2} $$

ให้ $P(N): ∑_{i=1}^N i = \frac{(N(N+1))}{2} $

Basis step: แสดงให้เห็นว่า P(1) เป็นจริง (ในกรณีนี้ $n_0 = 1$) นั่นคือ

เมื่อ n = 1, $$RHS = 1(1+1)/2 = 1 = ∑_{i=1}^1 i = LHS $$ ดังนั้น P(1) เป็นจริง

Induction step: ให้ k เป็นเลขจำนวนเต็มใด ๆ เราต้องแสดงให้เห็นว่า P(k + 1) เป็นจริง: โดย สมมติให้ P(k) เป็นจริง นั่นคือ $$ ∑_{i=1}^k i = \frac{(k(k+1))}{2} $$ เป็นจริง ← inductive hypothesis

เพื่อที่จะพิสูจน์ว่า P(k + 1) เป็นจริง คือ $$∑_{i=1}^{k+1} i = \frac{((k+1)(k+2))}{2} $$

เราเริ่มด้วย LHS ของสมการข้างบนนี้ \begin{align*} ∑_{i=1}^{k+1} i & = ∑_{i=1}^k i + (k+1) \\ & = \frac{(k(k+1))}{2}+(k+1) \text{ by induction hypothesis }\\ & = \frac{(k(k+1)+2(k+1))}{2} = \frac{(k^2+3k+2)}{2} \\ & = \frac{((k+1)(k+2))}{2} \end{align*}

ดังนั้น ถ้า P(k) เป็นจริงนั่นคือ P(k+1) ย่อมเป็นจริงด้วย และ จึงแสดงให้เห็นว่า P(n) เป็นจริงสำหรับทุก ๆ ค่าของ n > 1 นั่นคือสูตรดังกล่าวจึงเป็นจริงสำหรับทุกค่า n ที่เป็นเลขจำนวนเต็มบวก

ตัวอย่าง 3 พิสูจน์ว่าทุก ๆ ค่าเลขจำนวนเต็ม N ใด ๆ, (THEOREM 1.3) $$ ∑_{i=1}^N i^2 = \frac{(N(N+1)(2N+1))}{6} \ \ \ ; N ≥ 1 $$

Basic step: เมื่อ N = 1,

$$∑_{i=1}^N i^2 = ∑_{i=1}^1 i^2 = 1 = \frac{(N(N+1)(2N+1))}{6} = \frac{(1(1+1)(2+1))}{6} $$

ดังนั้น P(1) เป็นจริง

Induction step: สมมติให้ P(k) เป็นจริง ที่ 1 < k < N นั่นคือ

$$∑_{i=1}^k i^2 =\frac{(k(k+1)(2k+1))}{6}$$

เพื่อที่จะพิสูจน์ว่า $P(k) \to P(k + 1) $ เป็นจริง คือ. $$∑_{i=1}^{k+1} i^2 = \frac{((k+1)((k+1)+1)(2(k+1)+1))}{6}= \frac{((k+1)(k+2)(2k+3))}{6}$$

เราเริ่มด้วย LHS ของสมการข้างบนนี้ \begin{align*} ∑_{i=1}^{k+1} i^2 & = ∑_{i=1}^k i^2 + (k+1)^2 \\ & = \frac{k(k+1)(2k+1)}{6} + (k+1)^2 = (k+1)[\frac{k(2k+1)}{6}+(k+1)] \\ & = (k+1)[\frac{(2k^2+k)}{6} + \frac{(6k+6)}{6}] = (k+1)[\frac{(2k^2+7k+6)}{6}] \\ & = \frac{((k+1)(k+2)(2k+3))}{6} \\ \end{align*} ดังนั้น ถ้า P(k) เป็นจริงนั่นคือ P(k+1) ย่อมเป็นจริงด้วย

ตัวอย่าง 4 จงพิสูจน์ว่า $ 2n^3+3n^2+n $ หารด้วย 6 ลงตัวสำหรับทุกค่าเลขจำนวนเต็ม n > 1

ให้ $P(n):2n^3+3n^2+n$ หารด้วย 6 ลงตัว

Basic step: เมื่อ n = 1, $2n^3+3n^2+n=2(1)+3(1)+1 = 6 $ ซึ่งหารด้วย 6 ลงตัว ดังนั้น P(1) เป็นจริง

Induction step: ให้ P(k) เป็นจริง นั่นคือ $2k^3+3k^2+k$ หารด้วย 6 ลงตัวที่ค่าใด ๆ ของ k > 1

ซึ่งก็คือ $2k^3+3k^2+k = 6m$ สำหรับจำนวนเต็ม m และจะต้องแสดงให้เห็นว่า P(k+1) เป็นจริง

กล่าวคือ $2(k+1)^3+3(k+1)^2+(k+1)$ หารด้วย 6 ลงตัว โดยจะเห็นได้ว่า \begin{align*} 2(k+1)^3 + 3(k+1)^2 + (k+1) & = 2(k^3+3k^2+3k+1)+3(k^2+2k+1)+(k+1) \\ & = (2k^3+3k^2+k) + 6(k^2+2k+1) \\ & = 6m+6(k^2+2k+1) \ \ \ \text{by the induction hypothesis} \\ & = 6(m+k^2+2k+1) \ \ \ \text{ซึ่งหารด้วย 6 ลงตัว ดังนั้น P(k+1) เป็นจริง} \\ \end{align*}

ตัวอย่าง 5 Bernoulli's Inequality

ให้ x เป็นเลขจำนวนจริงใด ๆ ที่มีค่ามากกว่า -1 ให้พิสูจน์ว่า $(1+x)^n ≥ 1 + nx $ ที่ $n ≥ 0$

ให้ $P(n): (1+x)^n ≥ 1 + nx $ (Note: การทำ Induction ทำบนค่า discrete ของ n)

Basic step: แสดงให้เห็นว่า P(0) เป็นจริง ซึ่งคือ $$ (1+x)^0 = 1 $$ $$ ≥ 1 + 0x $$

ดังนั้น P(0) เป็นจริง (ในที่นี้ $n_0 = 0$)

Induction step: ให้ P(k) เป็นจริง นั่นคือ $(1+x)^k ≥ 1 + kx $ สำหรับค่าเลขจำนวนเต็ม k ใด ๆ ที่ k > 0

เราจะต้องแสดงให้เห็นว่า P(k+1) เป็นจริง กล่าวคือ $(1+x)^(k+1) ≥ 1 + (k+1)x$

จาก Inductive hypothesis เรามี $(1+x)^k ≥ 1 + kx$ ดังนั้น \begin{align*} (1+x)^{k+1} & = (1+x) (1+x)^k \\ & ≥ (1+x)(1+xk) \ \ \ \text{โดย Inductive hypothesis และเนื่องจาก 1+x > 0} \\ & = 1+(k+1)x+kx^2 \\ & ≥ 1+(k+1)x \ \ \ \text{เนื่องจาก }\ kx^2 ≥ 0\\ \end{align*} นั่นคือ P(k+1) เป็นจริง ดังนั้น $(1+x)^n ≥ 1 + nx $ ที่ n ≥ 0

ตัวอย่าง 6 A เป็น finite set ที่มีสมาชิกจำนวน n ตัวจะมีจำนวน subsets ได้ทั้งสิ้นจำนวน $2^n^ subsets.

Basic step: แสดงให้เห็นว่า P(0) เป็นจริง ซึ่งคือ เมื่อ n = 0, A = $\Phi $ ดังนั้น A จึงมีจำนวน subset คือ $1 = 2^0$ ดังนั้น P(0) เป็นจริง

Induction step: ให้ finite set ใด ๆ ที่มีจำนวนสมาชิก k ตัว จะมีจำนวน subset ได้ $2^k$ subsets เมื่อ k > 0 และกำหนดให้ A เป็น set ที่มีจำนวนสมาชิก k+1 ตัว ซึ่งเราต้องแสดงให้เห็นว่า A มีจำนวน sunsets ได้ทั้งสิ้น $2^{k+1}$ subsets.

สมมติให้ x $\in$ A และให้ B = A – {x} ดังนั้น เนื่องจาก |B| = k ทำให้มีจำนวน subset ได้ $2^k$ subsets (ด้วย inductive hypothesis) และแต่ละ subset ของ B ก็เป็น subset ของ A ด้วย ซึ่งถ้าเราเพิ่ม x ลงในแต่ละ subset ดังกล่าวนั้น ก็จะทำให้ได้ผลเป็น set ใหม่ที่มีสมาชิก x ด้วย เป็นจำนวน $2^k$ เซต และ เซตใหม่นี้ก็เป็น subset ของ A ด้วย ดังนั้นจำนวน subset ทั้งสิ้นของ A (ทั้งที่มี x และไม่มี x เป็นสมาชิก) จึงรวมกันเป็น $2^k + 2^k = 2^{k+1}$ subsets

Basic step และ Induction step ล้วนมีความสำคัญการใช้ PMI ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างข้างล่างนี้

ตัวอย่าง 7 ให้ $g(n)$ เป็นจำนวนสูงสุดของพื้นที่ที่ไม่ซ้อนทับกันที่เกิดขึ้นภายในรูปวงกลมจากการลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดจำนวน $n$ จุดบนวงกลม รูปที่ 1 ถึง 5 ข้างล่างแสดงกรณีที่ $n = 1, 2, 3, 4,$ และ $5$ และพื้นที่แสดงด้วยหมายเลข $1, 2, 3, …$ ตารางที่ 1 แสดงผลที่ได้

1 2 3 4 5 6

ตาราง 1

จำนวนจุด 1 2 3 4 5 6
จำนวนสูงสุดของพื้นที่ที่ไม่ซ้อนทับกัน $g(n)$ 1 2 4 8 16 ?

จากตารางดูเหมือนว่า $g(n) = 2^{n-1}$ นั่นคือ $g(1) = 2^0 = 1$ เป็นจริง (basic step) อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้ประกันว่า $g(n) = 2^{n-1}$ สำหรับทุกค่าของ n > 1 จะเห็นว่าถ้าสูตรดังกล่าวนี้เป็นจริงเราจะได้ว่า $g(6) = 2^5 = 32$ เป็นจำนวนพื้นที่ที่ไม่ซ้อนทับกันที่เกิดจากจุด 6 จุด แต่ความจริงมีพื้นที่เกิดขึ้นเพียง 31 เท่านั้น ดังรูปที่ 6 Dividing a circle into areas

ดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่า เพียงแต่ basic step เป็นจริงบวกกับรูปแบบที่ปรากฏนั้นไม่สามารถประกันได้ว่า $P(n)$ จะเป็นจริงสำหรับทุกค่าของ $n$

ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าความถูกต้องของ induction step เป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นการเพียงพอที่จะประกันว่า $P(n)$ เป็นจริงเป็นจริงได้สำหรับทุก ๆ ค่าเลขจำนวนเต็มใน universe of discourse นั้น ๆ

ตัวอย่าง 8 พิจารณาสูตร $P(n): 1 + 3 + 5 + … + (2n – 1)= n^2 + 1$

สมมติ P(k) เป็นจริง: $$∑_{i=1}^k (2i-1) = k^2+1 $$ ดังนั้น \begin{align*} ∑_{i=1}^{k+1} (2i-1) & = ∑_{i=1}^k (2i-1) + (2k+1) \\ & = (k^2+1)+(2k+1) \\ & = (k+1)^2+1 \\ \end{align*} ดังนั้น ถ้า $P(k)$ เป็นจริง $P(k+1)$ จึงเป็นจริง อย่างไรก็ตาม สูตรดังกล่าวนี้ไม่เป็นจริงทุก ๆ ค่า $n$ ใด ๆ ที่เป็นเลขจำนวนเต็มบวก ซึ่งทดสอบได้ด้วย $P(1)$

ตัวอย่าง 9 กำหนดให้ $a_1,a_2, a_3,⋯ $ เป็น sequence ของเลขจำนวนเต็มที่ $a_1=0$ และสำหรับ $n > 1$, $ a_n= n^3+a_{n-1} $ จงพิสูจน์ว่าทุก ๆ จำนวนเต็ม $n$

$$a_n=((n-1)(n+2)(n^2+n+2))/4$$

ให้ $P(n)= a_n = ((n-1)(n+2)(n^2+n+2))/4$

Basis step: เมื่อ $n = 1$, จากสูตรจะได้ $(1-1)(1+2)(12+1+2)/4 = 0$, ซึ่งคือค่า $a_1$

Induction step: ให้ $P(k)$ เป็นจริง นั่นคือ $a_k=((k-1)(k+2) (k^2+k+2) )/4$

เราจะต้องแสดงให้เห็นว่า $P(k+1)$ เป็นจริง นั่นคือ

$$a_{k+1}=(((k+1)-1)((k+1)+2) ((k+1)^2+(k+1)+2) )/4$$

dsa/basic_math.txt · Last modified: 2021/09/08 11:37 by wasu

Page Tools